วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

+ วัฏจักรคาร์บอน (Carbon cycle)


          คาร์บอน (Carbon) เป็นธาตุที่มีอยู่ในสารประกอบอินทรีย์เคมีทุกชนิด ดังนั้นวัฏจักรคาร์บอนมักไปสัมพันธ์กับวัฏจักรอื่น ๆในระบบนิเวศ   คาร์บอน เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของสารอินทรีย์สารในสิ่งมีชีวิต เช่น คาร์โบไฮเดรด โปรตีน ไขมัน วิตามิน

วัฏจักรคาร์บอน  หมายถึง การที่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากกอากาศถูกนำเข้าสู่สิ่งมีชีวิต 
หรือออกจากสิ่งมีชีวิตคืนสู่บรรยากาศ  และน้ำอีกหมุนเวียนกันไปเช่นนี้ไม่มีที่สิ้นสุดโดย 
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในบรรยากาศและน้ำถูกนำเข้าสู่สิ่งมีชีวิต
ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช (CO2) จะถูกเปลี่ยนเป็นอินทรียสารที่มีพลังงานสะสมอยู่
ต่อมาสารอินทรียสารที่พืชสะสมไว้บางส่วนถูกถ่ายทอดไปยังผู้บริโภคในระบบต่าง ๆ โดยการกิน
CO2 ออกจากสิ่งมีชีวิตคืนสู่บรรยากาศและน้ำได้หลายทาง ได้แก่
1.การหายใจของพืชและสัตว์ เพื่อให้ได้พลังงานออกมาใช้  ทำให้คาร์บอนที่อยู่ในรูปของอินทรีย
สารถูกปลดปล่อยออกมาเป็นอิสระในรูปของ CO2
2.การย่อยสลายสิ่งขับถ่ายของสัตว์และซากพืชซากสัตว์ ทำให้คาร์บอนที่อยู่ในรูปของ
อาหารถูกปลดปล่อยออกมาเป็นอิสระในรูปของ CO2
3.การเผ่าไหม้ของถ่านหิน น้ำมัน และคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของ
ซากพืชซากสัตว์เป็นเวลานาน
วัฏจักรของคาร์บอนสัมพันธ์กับวัฏจักรน้ำเสมอ ความสมดุลของ COในอากาศ
เกิดจากการแลกเปลี่ยนของ CO2 ในอากาศกับน้ำ ถ้าในอากาศ CO2มากเกินไป 
ก็จะมีการละลายอยู่ในรูปของ H2CO3
(กรดคาร์บอนิก) ดังสมาการต่อไปนี้
CO2+H2O                        H2CO3

+ ห่วงโซ่อาหาร (food chain)

ห่วงโซ่อาหาร (food chain)

        พืชและสัตว์จำเป็นต้องได้รับพลังงานเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต  โดยพืชจะได้รับพลังงานจากแสงของดวงอาทิตย์  โดยใช้รงควัตถุสีเขียวที่เรียกว่า  คลอโรฟิลล์  (chlorophyll)  เป็นตัวดูดกลืนพลังงานแสงเพื่อนำมาใช้ ในการสร้างอาหาร  เช่น  กลูโคส  แป้ง  ไขมัน  โปรตีน  เป็นต้น 

        พืชจึงเป็นผู้ผลิต (producer)  และเป็นสิ่งมีชีวิตอันดับแรกในการถ่ายทอดพลังงานแบบห่วงโซ่อาหาร สำหรับสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิต ที่ไม่สามารถสร้าง อาหารเองได้  จำเป็นต้องได้รับพลังงานจากการบริโภค สิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร สัตว์จึงถือว่าเป็น ผู้บริโภค (consumer)  ซึ่งแบ่งออกได้เป็นต้น

 - ผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง (primary  consumer)  หมายถึง  สัตว์ที่กินผู้ผลิต

 - ผู้บริโภคลำดับที่สอง  (secondary  consumer )  หมายถึง  สัตว์ที่กินผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง

 - ผู้บริโภคลำดับสูงสุด  (top  consumer)  หมายถึง  สัตว์ที่อยู่ปรายสุดของห่วงโซ่อาหารซึ่งไม่มีสิ่งมีชีวิตใด มากินต่อ  อาจเรียกว่า  ผู้บริโภคลำดับสุดท้าย

+ ระบบนิเวศ (Ecosystem)


ระบบนิเวศ (Ecosystem)

          สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติในแต่ละท้องถิ่น  มีความแตกต่างหลากหลาย เช่น  บางบริเวณมีแม่น้ำลำธาร  คลอง  ชายทะเล  ป่าชายเลน  และที่ราบ  เป็นต้น  มักพบสิ่งมีชีวิตมากมายหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกัน ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  เรียกว่า  กลุ่มสิ่งมีชีวิต  (Community) ระบบนิเวศ  (Ecosystem)  หมายถึง  กลุ่มสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืช  สัตว์  หรือจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน  มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างเป็นระบบรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต  ระบบนิเวศมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของสิ่งมีชีวิต  และแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต  ซึ่งจัดเป็นระบบนิเวศขนาดใหญ่  เรียกว่า  โลกของสิ่งมีชีวิต

ความสัมพันธ์ทั้งสองลักษณะจะเกิดขึ้น
พร้อมกัน ใน ทุก ๆ ระบบนิเวศ นั่นคือ
ความสัมพันธ์ ที่เกี่ยวข้องกัน ทำให้
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดดำรง ชีวิตอยู่รอดได้

          สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตในโลก เริ่มต้นมาจากสารที่เล็กที่สุด คือ อะตอม(atom)หลาย ๆ อะตอมทำปฏิกิริยาเคมีกัน หรือมีแรง ยึด ระหว่างอะตอม กลายเป็นโมเลกุล(molecule) โมเลกุลของสาร ต่างๆ รวมกันเป็นสารชีวโมเลกุลเซลล์ หรือออร์แกเนลล์(organelle) ออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ร่วมกันทำงาน และประกอบกันเป็นเซลล์(cell)ในสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอาจ มีเพียงเซลล์เดียว ส่วนสิ่งมีชีวิตที่มี มากกว่าเซลล์เดียวนั้น เซลล์ชนิดเดียวกันหลาย ๆ เซลล์ ทำหน้าที่ ร่วมกันเรียกว่า เนื้อเยื่อ(tissue) เช่น เนื้อเยื่อกระดูก เนื้อเยื่อหลายชนิดร่วมกันทำหน้าที่ กลายเป็นอวัยวะ(organ) เช่น กระดูก อวัยวะชนิดเดียวกัน หลายๆ อัน ร่วมกันทำหน้าที่ี่ เรี่ยกว่า ระบบอวัยวะ เช่น ระบบโครงกระดูก หลายๆ ระบบร่วมกันทำงาน กลายเป็น สิ่งมีชีวิต(organism) เช่น แมว สุนัข วัว ควาย ไก่ เก้ง ปู สิ่งมีชีวิต ชนิดเดียวกันอยู่ร่วมกันกลายเป็น ครอบครัว (family) หลาย ๆ ครอบครัวอยู่รวมกันในบริเวณ หนึ่ง กลายเป็นประชากร(population)การดำรงชีวิของสิ่งมีชีวิต การดำรงชีวิตชนิดเีดียวกัน จะต้อง มีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น ต้องมีอาหารมีที่อยู่อาศัย เป็นต้น จึงต้องเกิดกลุ่มสิ่งมีชีวิต(community) ขึ้นเมื่อรวมกลุ่มสิ่งมีชีวิต กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตในบริเวณนั้น เข้าด้วยกันหลายเป็น ระบบนิเวศ (ecosystem)


+ ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ 3

ชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ 3


* หากไม่สามารถรับชมได้ กรุณาติดตั้ง Flash Player Plugin คลิกที่นี่
* Download VDO คลิกที่นี่

โครงการจัดทำเนื้อหา ระบบ e-Learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ (โครงการ eDLTV) โดย มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ NECTEC อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย

+ ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ 2

ชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ 2


* หากไม่สามารถรับชมได้ กรุณาติดตั้ง Flash Player Plugin คลิกที่นี่
* Download VDO คลิกที่นี่

โครงการจัดทำเนื้อหา ระบบ e-Learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ (โครงการ eDLTV) โดย มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ NECTEC อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย 

+ ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ 1

ชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ 1


 
* หากไม่สามารถรับชมได้ กรุณาติดตั้ง Flash Player Plugin คลิกที่นี่


โครงการจัดทำเนื้อหา ระบบ e-Learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ (โครงการ eDLTV) โดย มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ NECTEC อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย