วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

+ พลังงานไฟฟ้า

พลังงานไฟฟ้าสามารถแบ่งออกได้ 2 แบบได้แก่
1. ไฟฟ้าสถิต
2. ไฟฟ้ากระแส
ไฟฟ้าสถิต
ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา เราสามารถพบไฟฟ้าสถิตได้เสมอ เช่น เมื่อเรานำมือเข้าไปใกล้จอโทรทัศน์ที่เพิ่งปิดใหม่ ๆ หรือเมื่อเราหวีผม เส้นผมมักจะชูตามหวีขึ้นมาด้วย หรือการที่เรานำไม้บรรทัดพลาสติก มาถูที่ผมของเรา จากนั้นไม้บรรทัดจะมีพลังสามารถที่จะดูดเศษกระดาษชิ้นเล็กๆ ได้ เราเรียนพลังงานเหล่านี้ว่า ไฟฟ้าสถิต
ปรากฏการณ์ไฟฟ้าสถิตนี้มนุษย์ค้นพบมานานแล้วเท่าที่มีการบันทึกไว้เริ่มมาตั้งแต่ 600 ปีก่อนคริสตศักราชหรือราว ๆ สมัยพุทธกาลนั่นเอง นักปราชญ์ชาวกรีกชื่อ ธาลีสแห่งเมืองมิเลตุล (Thales of Miletus)
นักปราชญ์เทลีส สังเกตว่าเมื่อเขาหยิบแท่งอำพันมาถูกับเสื้อคลุมซึ่งทำด้วยขนสัตว์ เมื่อเขาวางแท่งอำพันไว้บนโต๊ะดังเดิม เศษวัสดุต่าง ๆ เช่น เศษไม้เล็ก ๆ ต่างก็วิ่งเข้ามาเกาะแท่งอำพันนั้นได้เอง เขาทดลองถูอีกหลายครั้งจึงแน่ใจว่านั่นเป็นความจริง ไม่ใช่ภาพลวงตา เทลีส เรียนรู้ว่าถ้าเอาอำพันถูกับผ้าขนสัตว์แล้วแท่งอำพันจะดูดวัตถุเบา ๆ ได้

การเกิดไฟฟ้าสถิต
เมื่อมีวัสดุทั้งสองชนิดเป็นฉนวนที่มีการสัมผัสกันจะมีประจุบางส่วน (Electrons) ถูกถ่ายโอนจากวัสดุฉนวนชิ้นหนึ่งไปสู่วัสดุฉนวนอีกชิ้นหนึ่ง และเมื่อฉนวนทั้งสองชิ้นถูกแยกออกจากกัน ประจุดังกล่าวก็จะไม่สามารถย้อนกลับไปยังวัสดุฉนวนชิ้นเดิมได้ จึงทำให้ประจุดังกล่าวก็จะไม่สามารถเคลื่อนที่ในวัสดุฉนวนได้ ซึ่งถ้าวัสดุทั้งสองเป็นกลางแล้วก็จะเกิดประจุบวกขึ้นในวัสดุฉนวนชิ้นหนึ่งและเกิดประจุลบกับวัสดุอีกชิ้นหนึ่ง
ปรากฏการณ์ธรรมชาติฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่าเกิดจากประจุไฟฟ้าสถิตในก้อนเมฆ มีจำนวนมากจนสามารถเคลื่อนที่จากเมฆก้อนหนึ่งไปยังอีกก้อนหนึ่ง เมื่อเกิดพายุฝนฟ้าคะนองประจุไฟฟ้าในก้อนเมฆจะเกิดการถ่ายเทไปยังอีกก้อนหนึ่งอย่างรวดเร็วทำให้เสียดสีกับอากาศจนอากาศร้อนจัด และลุกไหม้เห็นแสงสว่างราบเป็นทางที่เราเรียกว่า ฟ้าแลบ เมื่ออากาศร้อนจัดจึงขยายตัวและหดตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้อากาศสั่นสะเทือนกลายเป็นเสียง ฟ้าร้อง
ส่วนการเกิดฟ้าผ่า เกิดจากถ่ายเทประจุไฟฟ้าระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดินเป็น ถ้ามีสิ่งกีดขวางไม่ยอมให้ประจุผ่านไปได้สะดวก เช่น ต้นไม้ บ้าน รถยนต์ คน สัตว์ต่างๆ ก็จะเกิดความร้อนและลุกไหม้เป็นอันตรายอย่างมาก หรือที่เราเรียกกันว่า ฟ้าผ่า ดังนั้นจึงสังเกตได้ว่าตามอาคารสูงๆ จึงมักติดสายล่อฟ้า ทำด้วยเหล็กกล้ารูปสามง่ามไว้บนยอดสุดของอาคาร เชื่อมต่อกับสายทองแดงลงมาที่พื้นดินเพื่อถ่ายเทประจุไฟฟ้านำลงสู่พื้นดิน
เบนจามิน แฟรงคลิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้พิสูจน์ว่าฟ้าแลบฟ้าร้อง เป็นไฟฟ้าสถิตอย่างหนึ่งในปี พ.ศ. 2295 เขาได้ทดลองปล่อยว่าวขึ้นท่ามกลางพายุในฟ้าคะนอง เขาพบว่าไฟฟ้าไหลลงมาตามสายป่านที่เปียกฝน ก่อให้เกิดประกายไฟที่ลูกกุญแจโลหะที่แขวนไว้ใกล้ปลายสายป่าน การทดลองนี้มีอันตรายมากอาจถึงแก่ชีวิตโชคดีที่แฟรงคลินรอดชีวิตมาได้ ผู้ทดลองแบบเดียวกันในปีต่อมาถูกฟ้าผ่าเสียชีวิต การทดลองของแฟรงคลินก่อให้เกิดการประดิษฐ์สายล่อฟ้าเพื่อป้องกันฟ้าผ่าในเวลาต่อมา
แม้ว่าไฟฟ้าสถิตจากฟ้าผ่าจะก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตก็ตามแต่เราได้ใช้ประโยชน์หลายอย่างจากไฟฟ้าสถิต เช่น ทำให้เกิดภาพบนจอโทรทัศน์ ทำให้เกิดภาพในเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องเอกซเรย์ ช่วยในการพ่นสีรถยนต์จนถึงการทำงานของไมโครชิพในเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ไฟฟ้ากระแส
ไฟฟ้าที่เราใช้กันทั่วไป หรือที่เรียกว่า ไฟฟ้ากระแส เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยแหล่งกำเนิดไฟฟ้าแบบนี้มีมีหลายวิธี
1. เซลล์ไฟฟ้าเคมี จะเป็นกรรมวิธีการเปลี่ยนพลังงานจากปฏิกิริยาเคมีมาเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยถ้าเราจุ่มแผ่นทองแดงและแผ่นสังกะสีลงในกรดกำมะถันเจือจางโดยวางให้ห่างกันพอประมาณ ต่อหลอดไฟระหว่างแผ่นโลหะทั้งสอง หลอดไฟจะติดสว่าง เซลล์ไฟฟ้านี้เรียกว่า เซลล์เปียก โดยจะทำปฏิกิริยาเคมีระหว่างแผ่นโลหะกับกรดกำมะถัน จนทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรจากแผ่นทองแดงไปยังแผ่นสังกะสี
2. ไฟฟ้าจากไดนาโม หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยปกตินั้นไฟฟ้าที่ใช้ตามอาคารบ้านเรือนเป็นไฟฟ้าที่เกิดจากเครื่องไดนาโม (เจเนอเรเตอร์) ซึ่งภายในไดนาโม จะประกอบด้วยขดลวดทองแดงเคลื่อนที่ตัดเส้นแรงแม่เหล็กหรืออาจเคลื่อนที่แม่เหล็กตัดขวดลวดทองแดงที่อยู่กับที่ ก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าในขดลวดไหลกลับไปกลับมาระหว่างขั้วบวกและขั้วลบ เรียกว่า ไฟฟ้ากระแส-สลับ
เครื่องกำเนิดขนาดใหญ่ ใช้แรงดันไอน้ำเป็นตัวหมุนแม่เหล็ก ในโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงต้มน้ำ เพื่อให้เกิดไอน้ำที่มีแรงดันไปหมุนกังหันเทอร์-ไบน์ที่ต่อไปยังแม่เหล็ก ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าในขดลวดที่พันรอบแม่เหล็กนั้น
3. ไฟฟ้าที่มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเราสามารถสร้าง Solar Cell ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ซึ่งใช้ครั้งแรกในยานอวกาศ ปัจจุบันเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้ เช่น นาฬิกาข้อมือ เครื่องคิดเลข แต่ใช้จ่ายในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ค่อนข้างสูง


วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

+ กรด - เบส

กรด - เบส


กรด - เบส คืออะไร
กรด เบส ในชีวิตประจำวัน ( Acid Base in Everyday Life)
สารประกอบจำพวกกรด เบส มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างมาก ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่า กรด เบส คืออะไรอย่างง่ายๆ
สารละลายกรด คือสารละลายที่มีรสเปรี้ยว เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง หรือทำปฏิกิริยากับโลหะได้ แก๊ส H 2 และ เกลือ
สารละลายเบส คือสารละลายที่มีรสขม เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงิน หรือมีลักษณะลื่นๆ
นิยามของกรด-เบส
Arrhenius Concept
กรด คือ สารประกอบที่มี H และเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ H + หรือ H 3O +
เบส คือ สารประกอบที่มี OH และเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ OH -
ข้อจำกัดของทฤษฎีนี้คือ สารประกอบต้องละลายได้ในน้ำ และไม่สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมสารประกอบบางชนิดเช่น NH 3 จึงเป็นเบส

Bronsted-Lowry Concept
กรด คือ สารที่สามารถให้โปรตอน ( proton donor)แก่สารอื่น
เบส คือ สารที่สามารถรับโปรตอน ( proton acceptor)จากสารอื่น
ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบสจึงเป็นการถ่ายเทโปรตอนจากกรดไปยังเบสเช่น แอมโมเนียละลายในน้ำ
NH 3(aq) + H 2O (1)  NH 4 + (aq) + OH - (aq)
base 2 ........ acid 1 ........ acid 2 ........ base 1
ในปฏิกิริยาไปข้างหน้า NH 3 จะเป็นฝ่ายรับโปรตอนจาก H 2O ดังนั้น NH 3 จึงเป็นเบสและ H 2O เป็นกรด แต่ในปฏิกิริยาย้อนกลับ NH 4 + จะเป็นฝ่ายให้โปรตอนแก่ OH - ดังนั้น NH 4 + จึงเป็นกรดและ OH - เป็นเบส อาจสรุปได้ว่าทิศทางของปฏิกิริยาจะขึ้นอยู่กับความแรงของเบส

Lewis Concept
กรด คือ สารที่สามารถรับอิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยว ( electron pair acceptor) จากสารอื่น
เบส คือ สารที่สามารถให้อิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยว ( electron pair donor)แกสารอื่น
ทฤษฎีนี้ใช้อธิบาย กรด เบส ตาม concept ของ Arrhenius และ Bronsted-Lowry ได้ และมีข้อได้เปรียบคือสามารถอธิบาย กรด เบส ในกรณีที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างกัน และได้สารประกอบที่มีพันธะโควาเลนซ์ เช่น
OH - (aq) + CO 2 (aq) HCO 3 - (aq)
BF 3 + NH 3BF 3-NH 3
คู่กรด – เบส
คู่กรด – เบส คือ สารที่เป็นคู่กรด-เบสกัน H + ต่างกัน 1 ตัว โดยที่ คู่กรดจะมี H + มากกว่าคู่เบส 1 ตัว

ความแรงของกรดและเบส = การแตกตัวในการให้โปรตอน(กรด) ความสามารถในการรับโปรตอน(เบส)
CH 3COOH (aq) + H 2O (aq)  CH 3COO - (aq) + H 3O + (aq)
<<< เราต้องรู้ทิศทางการเลื่อนของสมดุลก่อน เราจึงจะบอกถึงความแรงได้>>>
1. ถ้าสมดุลเลื่อนไปทางขวา CH 3COOH เป็นกรดแรงกว่า H 3O + / H 2O เป็นเบสแรงกว่า CH 3COO -
2. ถ้าสมดุลเลื่อนไปทางซ้าย H 3O + เป็นกรดแรงกว่า CH 3COOH / CH 3COO - เป็นเบสแรงกว่า H 2O
ถ้าค่า K > 1 สมดุลเลื่อนไปข้างหน้า(สารผลิตภัณฑ์มากกว่าสารตั้งต้น)
K < 1 สมดุลเลื่อนย้อนกลับ(สารผลิตภัณฑ์น้อยกว่าสารตั้งต้น)
K = 1 ไปข้างหน้าเท่ากับย้อนกลับ (สารผลิตภัณฑ์=สารตั้งต้น) ความแรงทั้ง 2 ข้างเท่ากัน

เปรียบเทียบกรดแก่กับเบสแก่
กรดแก่
เบสแก่
1. กรดแก่มีอะไรบ้าง
2. กรด Hydro = HCl HBr HI
3. กรด Oxy = HNO3 HClO3 HClO4 H2SO4
4. การแตกตัว 100%
5. การเป็นอิเล็กโทรไลต์ = แก่
1. เบสแก่มีอะไรบ้าง
2. หมู่ 1 = LiOH NaOH KOH RbOH CsOH
3. หมู่ 2 = Ca(OH)2 Sr(OH)2 Ba(OH)2
4. การแตกตัว 100 % ( หมู่ 2 แตก 200 %)
5. การเป็นอิเล็กโทรไลต์ = แก่
กรดแก่ ( strong acid) คือกรดที่สามารถแตกตัวได้ 100% ในน้ำ เช่น HCl H2SO4 HN03 HBr HClO4 และ HI
เบสแก่ ( weak base) คือกรดที่สามารถแตกตัวได้ 100% ในน้ำ เช่น Hydroxide ของธาตุหมู่ 1 และ 2 ( NaOH LiOH CsOH Ba(OH) 2 Ca(OH) 2 )
กรดอ่อน ( weak acid) คือกรดที่สามารถแตกตัวเป็นไอออนได้เพียงบางส่วน เช่น กรดอะซิติคในน้ำส้มสายชู (vinegar) ยาแอสไพริน (acetylsalicylic acid) ใช้บรรเทาอาการปวดศรีษะ saccharin เป็นสารเพิ่มความหวาน niacin (nicotinic acid) หรือ ไวตามินบี เป็นต้น ตัวอย่างปฏิกิริยาของสารละลายกรด CH 3COOH ในส่วนผสมของน้ำส้มสายชูจะมีดังนี้ :
CH 3COOH (aq) + H2O (1) H3O + (aq) + CH3COO - (aq) มีค่า K a
เบสอ่อน (weak base) คือเบสที่สามารถแตกตัวเป็นไออนได้เพียงบางส่วน เช่น NH 3 urea aniline เป็นต้น ตัวอย่างปฏิกิริยาของ ammonia มีดังนี้
NH3(aq) + H2O (aq) NH4 + (aq) + OH - (aq)
ชนิดของกรดและเบส
กรด แบ่งตามการแตกตัว แบ่งได้ 3 ชนิด
1. กรด Monoprotic แตกตัว 1 ได้แก่ HNO 3 , HClO 3 , HClO 4 , HCN
2. กรด Diprotic แตกตัว 2 ได้แก่ H 2SO 4 , H 2CO 3
3. กรดPolyprotic แตกตัว 3 ได้แก่ H 3PO 4
การแตกตัวของกรด Polyprotic แต่ละครั้งจะให้ H + ไม่เท่ากัน แตกครั้งแรกจะแตกได้ดีมาก ค่า Ka สูงมากแต่แตกครั้งต่อ ๆ ไปจะมีค่า Ka ต่ำมาก เพราะประจุลบในไอออนดึงดูด H + ไว้ดังสมการ
H 2SO 4  H+ + HSO 4 - Ka 1 = 10 11
HSO 4 -  H+ + SO 4 2- Ka 2 = 1.2 x 10 -2
เนื่องมาจากกรด Polyprotic มักมีค่า K 1 >> K 2 >> K 3 H + ในสารละลายส่วนใหญ่จะได้มาจากการแตกตัวครั้งแรก
ถ้าค่า K 1 มากกว่า K 2 =10 3 เท่าขึ้นไปจะพิจารณาค่า pH ของสารละลายกรด Polyprotic ได้จากค่า K 1 เท่านั้น แต่ถ้าค่า K 2 มีค่าไม่ต่ำมาก จะต้องนำค่า K 2 มาพิจารณาด้วย
เบส แบ่งตาม จำนวน OH - ในเบส แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
1. เบสที่มี OH - ตัวเดียว เช่น LiOH NaOH KOH RbOH CsOH
2. เบสที่มี OH - 2 ตัว เช่น Ca(OH) 2 Sr(OH) 2 Ba(OH) 2
3. เบสที่มี OH - 3 ตัว เช่น Al(OH) 3 Fe(OH) 3

รวมสูตรที่ใช้คำนวณในกรณีหา กรดอ่อน เบสอ่อน ไม่ผสมกัน
สูตรที่
กรณี (ต้องการหาอะไร)
กรดอ่อน
เบสอ่อน
1.
หาค่า K
Ka = [H +] 2 /N
Kb = [ OH -] 2 /N
2.
หา [ H +]
[H +] = [Ka.N]^1/2
[ OH -] = [Kb.N]^1/2
3.
หา % การแตกตัว
% การแตกตัว = [H +] x 100 / N
% การแตกตัว = [ OH -] x 100 / N
4.
การรวมสูตรของ % กับ K
% = Ka x 100 / N
% = Kb x 100 / N

ปฏิกิริยาของกรด - เบส
ปฏิกิริยาของกรด เบส แบ่งได้เป็น 4 ชนิดคือ
    • ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสแก่
    • ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสอ่อน
    • ปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่
    • ปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสอ่อน  

การแตกตัวของน้ำและค่า pH ของสารละลาย
น้ำบริสุทธิ์จัดเป็นตัวทำละลายที่สำคัญ เป็นพวก นอน-อิเลคโตรไลท์ (nonelectrolyte) หรือไม่สามารถนำไฟฟ้า แต่จากการทดลองพบว่า น้ำบริสุทธิ์นำไฟฟ้าได้บ้างเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะว่าน้ำสามารถแตกตัวได้เอง ซึ่งเรียกว่า self-ionization หรือ autoprotolysis
H 2O (1) + H 2O (1) H 3O + (aq) + OH -(aq)
.... acid 1 .....base 2 .............acid 2 ........base 1
หรือ 2H 2O (1) = H 3O + (aq) + OH - (aq)
จากความสัมพันธ์ของ K w ในปฏิกิริยาการแตกตัวของน้ำ
K w = [H 3O +][ OH -] = 1.0 x 10 -14 ที่ 25 C
(K w ที่ 0 C = 0.12 x 10 -14 และ ที่ 60 C = 9.6 x 10 - 14 M2)
จะได้ pK w = pH + pOH
โดยที่ pH ของ น้ำ = -log [H 30 +] = 7 และpOH ของ น้ำ = -log[ OH -] = 7
โดยทั่วไปแล้ว ค่า pH ของสารละลายที่พบอยู่ทั่วไป จะมีค่าอยู่ในช่วง 1-14 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ค่า pH อาจแสดงค่าเป็นลบหรือมีค่ามากกว่า 14 ได้เช่นเดียวกัน

ตัวอย่าง ค่า pH ของนมสด เท่ากับ 6.5 ถ้านมเสีย (เปรี้ยว) ค่า pH ของนมเสียจะมากหรือน้อยกว่านมสด
ตอบ น้อยกว่า

ตัวอย่าง จงหาค่า pH ของสารละลายที่เจือจางของ HCl เข้มข้น 1.0 x 10 - 8 M
วิธีทำ HCl เจือจาง แตกตัวได้ H + 1.0 x 10 - 8 M และน้ำแตกตัวได้ H+ 1.0 x 10 - 7 M
          ปริมาณ H + ที่เกิดขึ้น = 1.0 x 10 -8 + 1.0 x 10 - 7 M
          pH = -log (1.0 x 10 -8 + 1.0 x 10 -7 )
          = 6.96

สารละลายบัฟเฟอร์ ( Buffer Solution)
สารละลายบัฟเฟอร์ คือ สารละลายที่สามารถต้านทานการเปลี่ยนแปลงค่า pH ของสารละลายได้
สารละลายบัฟเฟอร์ คือ สารละลายที่ค่า pH จะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อนำไปทำให้เจือจางหรือเข้มข้นขึ้น
สารละลายบัฟเฟอร์ คือ สารละลายที่ประกอบไปด้วยกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อนหรือเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อน และสารในระบบจะไม่ทำปฏิกิริยากัน โดยที่กรดในระบบจะคอยทำปฏิกิริยากับเบสที่เติมลงไป และเบสในระบบจะคอยทำปฏิกิริยากับกรดที่เติมลงไป
ตัวอย่าง จงหา pH ของสารละลายที่ประกอบด้วย 0.10 M NH 3 และ 0.20 M NH 4Cl เมื่อ K b ของ NH 3 เท่ากับ 1.8x10 -5 ที่ 25 oC
วิธีทำ สมดุลการแตกตัวของเบส :
ความเข้มข้น ( M) NH 3(aq) + H 2O (1) NH 4 + (aq) + OH - (aq)
........................................................ เริ่มต้น ................ 0.10 .......................................0.20 ............0
........................................................ เปลี่ยนแปลง .......... -x ..........................................+x ..............+x
........................................................ ที่สมดุล .................. 0.10-x ..................................0.20+x .......x
ค่าคงที่การแตกตัวของเบสอ่อน :
K b = 
1.8 x 10 -5 = 
ใช้วิธีประมาณว่า 0.20 + x ~ 0.20 และ 0.10 - x ~ 0.10 จะได้
= 1.8 x 10 -5
.......................................................................... x = [ OH - ] = 1.8x10 -5 x = 9.0 x 10 -5
........................................................................ pH = 14.00 - pOH = 14.00 + log[ OH - ]
....................................................................... 14.00 + log (9.0 x 10 -5) = 14.00 - 5.05 = 8.95
ถ้าเติมกรดปริมาณเล็กน้อยลงไปในสารละลายบัฟเฟอร์นี้ สมการที่เกิดขึ้นคือ NH 3 + H + = NH 4 +
ถ้าเติมเบสปริมาณเล็กน้อยลงไปในสารละลายบัฟเฟอร์นี้สมการที่เกิดขึ้นคือ NH 4 ++ OH -= NH 3+H 2O
การเลือกใช้สารละลายบัฟเฟอร์ที่เหมาะสม
ตัวอย่าง ต้องการเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์ที่มี pH คงที่ = 4.30 จะต้องเลือกใช้สารละลายบัฟเฟอร์จากขวดใดต่อไปนี้
      ขวดที่ 1 HS0 4 - / SO 4 2- Ka = 1.2 x 10 -2
      ขวดที่ 2 HOAc / OAc - Ka = 1.8 x 10 -5
      ขวดที่ 3 HCN / CN - Ka = 4.0 x 10 -10
วิธีทำ สารละลาย pH = 4.30 [H +] = 5.0 X 10 - 5 M
      เลือกใช้ HOAc / OAc - เพราะมีค่า Ka ใกล้เคียงกับ [H +] = 5.0 X 10 - 5 M ที่คำนวณได้มากที่สุด
      แต่จะต้องมีการปรับอัตราส่วนของกรด ต่อเบส
.............. acid + H 2O = H 3O + + conjugate base
เมื่อ H + = 5.0 X 10 –5 และ Ka = 1.8 x 10 -5 จะได้ [HOAc] / [OAc - ] = 2.8
อัตราส่วนนี้จะคงที่เสมอ ไม่ว่าจะเติมน้ำทำให้เจือจาง หรือใช้ปริมาตรเท่าไร

อินดิเคเตอร์
อินดิเคเตอร์ คือ สารที่ใช้ทดสอบกรด-เบสของสารละลาย อินดิเคเตอร์ทั่วไปมีสมบัติเป็นกรดอ่อน เป็นสารที่เปลี่ยนสีได้เมื่อ pH ของสารละลายเปลี่ยนไป *โดยทั่วไปจะใช้ HIn แทนสูตรทั่วไปของอินดิเคเตอร์ สมการการแตกตัวของอินดิเคเตอร์
HIn (aq) + H 2O (l)   H 3O + (aq) + In - (aq)
Ka = [H 3O +][ In - ] / [ HIn]
  • ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ สามารถบอกความเป็นกรดเป็นเบสของสารละลายได้ และบอกค่า pH ได้
การเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์
HIn (aq) + H 2O (l)                      H 3O + (aq) + In - (aq)
แดง .............................................................................. น้ำเงิน
  • ถ้าเติมกรดลงไปเปรียบเสมือนเติม H 3O + สมดุลจะย้อนกลับจะได้สารละลายสีแดง
  • ถ้าเติมเบสเปรียบเสมือนเติม OH - , OH - จะไปดึง H 3O + ให้กลายเป็นน้ำสมดุลเลื่อนไปข้างหน้าสารละลายเป็นสีน้ำเงิน
หลักการเลือกอินดิเคเตอร์ ควรเลือกสารที่มีการเปลี่ยนสีตามการเปลี่ยนค่า pH เเละ สีสังเกตได้ชัด
การคำนวณหาช่วง pH ช่วง pH = -log K Hin + 1

ที่มา : http://nakhamwit.ac.th/

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

+ แบบทดสอบ ม.5

1.         1.    ข้อความใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับกรดแก่
ก.      สารที่ให้ H+ มากหรือดี
ข.      สารที่รับโปรตอนมากหรือดี
ค.      สารที่ให้โปรตอนมากหรือดี
ง.       ข้อ ก และ ค
2.        2.     ในสมการต่อไปนี้  H2O  ทำหน้าที่อะไรในสมการ(1) และ (2)
1)            HCl + H2O                      H3O+ + Cl-
2)            NH3 + H2O                      NH+4 + OH-
ก.      เป็นกรดทั้ง 1 และ 2
ข.      เป็นเบสทั้ง 1 และ 2
ค.      เป็นกรดใน 1 เป็นเบสใน 2
ง.       เป็นเบสทั้ง 1 และเป็นกรดใน 2
3.       3.      โมเลกุลหรือไอออนใดที่สามารถทำหน้าที่เป็นได้ทั้งกรดและเบส
ก.      HSO-4                            ค. H2O
ข.      HS-                                 ง. ทั้งข้อ ก ,ข และ ค
4.       4.      จากสารต่อไปนี้ สารคู่ใดเป็นคู่กรด- คู่เบสกัน
ก.      H2S – HS-                   ค. NH-4 – NH3
ข.      H2O - OH-                         ง. ทั้งข้อ ก ,ข และ ค
5.       5.      ข้อใดเป็นกรดแก่ทั้งกลุ่ม
ก.      HCl, HI, HBr , HF
ข.      HCl , HNO3, H2SO4 , HClO3
ค.      H2CO3 , CH3COOH ,HF ,HCN
ง.       H2S ,HCN ,HNO3 ,HF

ครูกุล

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

+ วัฏจักรคาร์บอน (Carbon cycle)


          คาร์บอน (Carbon) เป็นธาตุที่มีอยู่ในสารประกอบอินทรีย์เคมีทุกชนิด ดังนั้นวัฏจักรคาร์บอนมักไปสัมพันธ์กับวัฏจักรอื่น ๆในระบบนิเวศ   คาร์บอน เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของสารอินทรีย์สารในสิ่งมีชีวิต เช่น คาร์โบไฮเดรด โปรตีน ไขมัน วิตามิน

วัฏจักรคาร์บอน  หมายถึง การที่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากกอากาศถูกนำเข้าสู่สิ่งมีชีวิต 
หรือออกจากสิ่งมีชีวิตคืนสู่บรรยากาศ  และน้ำอีกหมุนเวียนกันไปเช่นนี้ไม่มีที่สิ้นสุดโดย 
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในบรรยากาศและน้ำถูกนำเข้าสู่สิ่งมีชีวิต
ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช (CO2) จะถูกเปลี่ยนเป็นอินทรียสารที่มีพลังงานสะสมอยู่
ต่อมาสารอินทรียสารที่พืชสะสมไว้บางส่วนถูกถ่ายทอดไปยังผู้บริโภคในระบบต่าง ๆ โดยการกิน
CO2 ออกจากสิ่งมีชีวิตคืนสู่บรรยากาศและน้ำได้หลายทาง ได้แก่
1.การหายใจของพืชและสัตว์ เพื่อให้ได้พลังงานออกมาใช้  ทำให้คาร์บอนที่อยู่ในรูปของอินทรีย
สารถูกปลดปล่อยออกมาเป็นอิสระในรูปของ CO2
2.การย่อยสลายสิ่งขับถ่ายของสัตว์และซากพืชซากสัตว์ ทำให้คาร์บอนที่อยู่ในรูปของ
อาหารถูกปลดปล่อยออกมาเป็นอิสระในรูปของ CO2
3.การเผ่าไหม้ของถ่านหิน น้ำมัน และคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของ
ซากพืชซากสัตว์เป็นเวลานาน
วัฏจักรของคาร์บอนสัมพันธ์กับวัฏจักรน้ำเสมอ ความสมดุลของ COในอากาศ
เกิดจากการแลกเปลี่ยนของ CO2 ในอากาศกับน้ำ ถ้าในอากาศ CO2มากเกินไป 
ก็จะมีการละลายอยู่ในรูปของ H2CO3
(กรดคาร์บอนิก) ดังสมาการต่อไปนี้
CO2+H2O                        H2CO3

+ ห่วงโซ่อาหาร (food chain)

ห่วงโซ่อาหาร (food chain)

        พืชและสัตว์จำเป็นต้องได้รับพลังงานเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต  โดยพืชจะได้รับพลังงานจากแสงของดวงอาทิตย์  โดยใช้รงควัตถุสีเขียวที่เรียกว่า  คลอโรฟิลล์  (chlorophyll)  เป็นตัวดูดกลืนพลังงานแสงเพื่อนำมาใช้ ในการสร้างอาหาร  เช่น  กลูโคส  แป้ง  ไขมัน  โปรตีน  เป็นต้น 

        พืชจึงเป็นผู้ผลิต (producer)  และเป็นสิ่งมีชีวิตอันดับแรกในการถ่ายทอดพลังงานแบบห่วงโซ่อาหาร สำหรับสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิต ที่ไม่สามารถสร้าง อาหารเองได้  จำเป็นต้องได้รับพลังงานจากการบริโภค สิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร สัตว์จึงถือว่าเป็น ผู้บริโภค (consumer)  ซึ่งแบ่งออกได้เป็นต้น

 - ผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง (primary  consumer)  หมายถึง  สัตว์ที่กินผู้ผลิต

 - ผู้บริโภคลำดับที่สอง  (secondary  consumer )  หมายถึง  สัตว์ที่กินผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง

 - ผู้บริโภคลำดับสูงสุด  (top  consumer)  หมายถึง  สัตว์ที่อยู่ปรายสุดของห่วงโซ่อาหารซึ่งไม่มีสิ่งมีชีวิตใด มากินต่อ  อาจเรียกว่า  ผู้บริโภคลำดับสุดท้าย

+ ระบบนิเวศ (Ecosystem)


ระบบนิเวศ (Ecosystem)

          สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติในแต่ละท้องถิ่น  มีความแตกต่างหลากหลาย เช่น  บางบริเวณมีแม่น้ำลำธาร  คลอง  ชายทะเล  ป่าชายเลน  และที่ราบ  เป็นต้น  มักพบสิ่งมีชีวิตมากมายหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกัน ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  เรียกว่า  กลุ่มสิ่งมีชีวิต  (Community) ระบบนิเวศ  (Ecosystem)  หมายถึง  กลุ่มสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืช  สัตว์  หรือจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน  มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างเป็นระบบรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต  ระบบนิเวศมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของสิ่งมีชีวิต  และแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต  ซึ่งจัดเป็นระบบนิเวศขนาดใหญ่  เรียกว่า  โลกของสิ่งมีชีวิต

ความสัมพันธ์ทั้งสองลักษณะจะเกิดขึ้น
พร้อมกัน ใน ทุก ๆ ระบบนิเวศ นั่นคือ
ความสัมพันธ์ ที่เกี่ยวข้องกัน ทำให้
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดดำรง ชีวิตอยู่รอดได้

          สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตในโลก เริ่มต้นมาจากสารที่เล็กที่สุด คือ อะตอม(atom)หลาย ๆ อะตอมทำปฏิกิริยาเคมีกัน หรือมีแรง ยึด ระหว่างอะตอม กลายเป็นโมเลกุล(molecule) โมเลกุลของสาร ต่างๆ รวมกันเป็นสารชีวโมเลกุลเซลล์ หรือออร์แกเนลล์(organelle) ออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ร่วมกันทำงาน และประกอบกันเป็นเซลล์(cell)ในสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอาจ มีเพียงเซลล์เดียว ส่วนสิ่งมีชีวิตที่มี มากกว่าเซลล์เดียวนั้น เซลล์ชนิดเดียวกันหลาย ๆ เซลล์ ทำหน้าที่ ร่วมกันเรียกว่า เนื้อเยื่อ(tissue) เช่น เนื้อเยื่อกระดูก เนื้อเยื่อหลายชนิดร่วมกันทำหน้าที่ กลายเป็นอวัยวะ(organ) เช่น กระดูก อวัยวะชนิดเดียวกัน หลายๆ อัน ร่วมกันทำหน้าที่ี่ เรี่ยกว่า ระบบอวัยวะ เช่น ระบบโครงกระดูก หลายๆ ระบบร่วมกันทำงาน กลายเป็น สิ่งมีชีวิต(organism) เช่น แมว สุนัข วัว ควาย ไก่ เก้ง ปู สิ่งมีชีวิต ชนิดเดียวกันอยู่ร่วมกันกลายเป็น ครอบครัว (family) หลาย ๆ ครอบครัวอยู่รวมกันในบริเวณ หนึ่ง กลายเป็นประชากร(population)การดำรงชีวิของสิ่งมีชีวิต การดำรงชีวิตชนิดเีดียวกัน จะต้อง มีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น ต้องมีอาหารมีที่อยู่อาศัย เป็นต้น จึงต้องเกิดกลุ่มสิ่งมีชีวิต(community) ขึ้นเมื่อรวมกลุ่มสิ่งมีชีวิต กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตในบริเวณนั้น เข้าด้วยกันหลายเป็น ระบบนิเวศ (ecosystem)


+ ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ 3

ชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ 3


* หากไม่สามารถรับชมได้ กรุณาติดตั้ง Flash Player Plugin คลิกที่นี่
* Download VDO คลิกที่นี่

โครงการจัดทำเนื้อหา ระบบ e-Learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ (โครงการ eDLTV) โดย มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ NECTEC อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย

+ ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ 2

ชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ 2


* หากไม่สามารถรับชมได้ กรุณาติดตั้ง Flash Player Plugin คลิกที่นี่
* Download VDO คลิกที่นี่

โครงการจัดทำเนื้อหา ระบบ e-Learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ (โครงการ eDLTV) โดย มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ NECTEC อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย 

+ ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ 1

ชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ 1


 
* หากไม่สามารถรับชมได้ กรุณาติดตั้ง Flash Player Plugin คลิกที่นี่


โครงการจัดทำเนื้อหา ระบบ e-Learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ (โครงการ eDLTV) โดย มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ NECTEC อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย 

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

+ เคล็ดลับอ่านหนังสือ


 
เคล็ดลับจากเว็บต่าง ๆ ลองอ่านดูนะคะ


10 เคล็ดลับ จำง่าย การอ่านหนังสือสอบ CoolYellLaughing
1. ปิด ทีวี คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต mp3 มีสติอยู่กับหนังสือ
2. นั่งสมาธิสัก 5 นาที
3. อ่านหนึ่งรอบ แล้วสรุป โดยไม่เปิดหนังสือ
4. เช็คคำตอบ
5. อ่านอีกหนึ่งรอบ
6. สรุปใหม่ เปิดหนังสือได้เอาไว้อ่าน
7. ถ้าทำเป็น Mind Mapping จะอ่านง่ายขึ้น
8. มีเอกสารอะไรที่ครูแจก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ
9. ท่องในส่วนที่ครูพูดย้ำบ่อยๆ อย่างน้อย 2 ครั้ง/คาบ
10. ก่อนวันสอบ ห้ามหักโหมอ่านหนังสือถึงเที่ยงคืน เพราะสมองจะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น

-------------------------------------------------------------------------------------------------
เคล็ดลับการอ่านหนังสือสอบ
วิธีอ่านหนังสือ  แบบว่าอยากสอบผ่าน....
1. คนที่อ่านหนังสือคนเดียวมักจะเสียเปรียบ คนที่อ่านเป็นกลุ่มมักจะได้เปรียบ เนื่องจากอ่านคนเดียวอาจเข้าใจคลาดเคลื่อน หรืออ่านไม่ตรงจุด หรือ(บางคน)อาจอ่านไม่รู้เรื่อง ถ้าอ่านเป็นกลุ่มโอกาสอ่านผิดจุดจะยากขึ้น และยังพอช่วยกันฉุดได้
   ** แต่วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับคนชอบแชตนะครับ
2. ควรอ่านเองที่บ้านก่อน 1 รอบ และจับกลุ่มติว เสร็จแล้วกลับไปอ่านทบทวนเองที่บ้านอีก 1 รอบ (ต้องรับผิดชอบตัวเอง)
3. ผลัดกันติว ใครเข้าใจเรื่องใดมากที่สุดก็ให้เป็นผู้ติว ข้อสำคัญ อย่าคิดแต่จะเป็นผู้รับอย่างเดียว จงคิดว่าเป็นผู้ให้ก่อน แล้วคนอื่น (ถ้าไม่แล้งน้ำใจเกินไป) ก็จะให้ตอบเอง
4. ผู้ติวจะได้ทบทวนเนื้อหา และจะรู้ว่าตัวเองขาดอะไร บกพร่องอะไร จากคำถามของเพื่อนที่สงสัย บางครั้งเพื่อนก็สามารถเสริมเติมเต็มในบางจุดที่ผู้ติวขาดหายได้
5. การติวจะทำให้เกิดการ Share ความคิด และฝึกวิธีทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยพัฒนาทั้งด้าน IQ และ EQ (อ่านเองจะพัฒนาแต่ IQ)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
...เทคนิคการอ่านหนังสือยังไงน่ะให้จำง่ายๆ...
1ข้อที่ 1. เพื่อนๆต้องใส่ใจเรื่องรายละเอียดเล็กๆน้อยๆก่อนเลยครับ ดูซิว่าวิชาไหนน่ะที่เราต้องสอบเป็นอันดับแรกๆ หยิบวิชานั้นขึ้นมาก่อนเลย เตรียมไว้นะครับ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับวิชาที่จะสอบ ชีต เอกสารต่างๆ หรือแนวข้อสอบ(อันนี้สำคัญนะครับ หาให้เจอล่ะครับ) ค้นเลยๆ ทุกวิชานะครับ


ข้อที่ 2.แยกหมวดหมู่แต่ละวิชา ก่อน-หลัง แล้วหาที่วางไว้อย่างเป็นระเบียบด้วยล่ะครับ
1

ข้อที่ 3.เตรียม ดินสอ/ปากกา สมุด และปากกาเน้นข้อความไว้ด้วยนะครับ

ข้อที่ 5.เริ่มอ่านวิชาที่จะต้องสอบก่อนเป็นวิชาแรกเลยครับ ตรงนี้แหละสำคัญมาก เพื่อนๆอย่าอ่านๆๆๆๆๆแล้วก็อ่านเพื่อให้จบ แบบผ่านๆนะครับ ต่อให้เพื่อนๆอ่านสัก 10 รอบแล้วบอกคนอื่นๆว่า "ก็เค้าอ่านเป็นสิบๆรอบแล้วอ่ะ แต่ทำไมทำข้อสอบไม่ได้เลยน่ะ?"  อ่านสัก 100 รอบก็ไม่ช่วยอะไรหรอกครับ  อ่านแล้วต้องทำความเข้าใจไปด้วย ตรงไหนที่คิดว่าสำคัญๆ เพื่อนๆก็เน้นตรงจุดนั้นไว้ อาจจะใช้วิธีการจดบันทึกไว้ หรือ เน้นข้อความด้วยปากกาสีต่างๆก็ได้ครับ เพื่อว่าจะได้กลับมาอ่านอีกครั้งครับ

1ข้อที่ 6.นั้นไงๆ  ผมบอกไปตะกี้เองนะครับว่าอย่าอ่านแบบผ่านๆ ดูสิครับ!  เพื่อนๆลองกลับไปอ่านข้อ 3 ใหม่สิครับ แล้วดูซิว่าที่ต่อจากข้อ 3 นะเป็นข้อที่เท่าไหร่ ข้อที่ 4 หายไป  ส่วนเพื่อนๆคนไหนสังเกตเห็นก่อนที่ผมเฉลย ก็แสดงว่าไม่มีปัญหาในเรื่องของการอ่านหนังสือแล้วละครับ เก่งมากๆเลยครับ ส่วนเพื่อนๆคนไหนที่ไม่ทันได้สังเกต ก็เอาจุดนี้เนี่ยแหละครับไปลองปรับใช้กับการอ่านหนังสือดูตามที่ผมบอกไว้ในข้อที่ 5 นะครับ

1ข้อที่ 7. ต่อครับ การไม่ปล่อยให้ท้องว่างก็เป็นสิ่งสำคัญนะครับ  ถ้าเพื่อนๆ อ่านๆๆๆหนังสืออย่างเดียวจนลืมทานข้าวแล้วละก็ นอกจากเพื่อนๆ จะอ่านหนังสือไม่รู้เรื่องแล้ว อาจจะทำให้ป่วย และทำให้เป็นโรคกระเพาะได้ด้วยนะครับ สำคัญเลย ต้องหาอะไรทานเมื่อท้องว่างด้วยนะครับ...อย่าทรมาณตัวเองละครับ

1ข้อที่ 8.ในการอ่านหนังสือ เพื่อนๆควรเลือกเวลาที่รู้สึกว่าสมองเราพร้อมจะทำงานด้วยนะครับ แล้วเมื่อเพื่อนๆรู้สึกว่าเริ่มอ่านไม่ไหวแล้วล่ะครับ อ่านนานมากไปทำให้ปวดตา ปวดหัว ให้เพื่อนๆพักก่อน อาจจะหาอย่างอื่นทำ เช่น  พักสายตาโดยการหาเพลงเพราะๆฟัง(เลือกเพลงที่ฟังแล้วจรรโลงใจด้วยละครับ ถ้าฟังเพลงที่หนักไป อาจทำให้ยิ่งปวดหัวมากกว่าเดิม ผมไม่รู้ด้วยนะครับ) จะดูทีวี เล่นเกม หรือกิจกรรมอื่นๆที่ทำแล้วผ่อนคลายก็หามาลองทำกันดูนะครับ แต่อย่าพักจนเพลินล่ะครับ  เมื่อถึงเวลาที่ร่างกายผ่อนคลายเพียงพอแล้วก็กลับเข้าสู่โหมดการอ่านหนังสือต่อเลยครับ (ทนเอาหน่อยนะครับ สอบไม่ได้มีมาบ่อยๆ ตั้งใจให้สุดๆไปเลย)
ข้อที่ 9.ผมรู้นะครับว่าเพื่อนๆต้องเริ่มใส่ใจในรายละเอียดในการอ่านกันบ้างแล้วล่ะครับ คงคิดใช่มั้ยละครับ ว่าผมจะแกล้งทำให้ข้อไหนหายไปอีกน่ะ!  ดีแล้วครับถ้าเพื่อนๆคิดแบบนี้นะครับ เป็นการฝึกตัวเองไปด้วย ให้เป็นคนรอบคอบ

1ข้อที่ 10.อ้า....อ่านไม่ทันแล้วอ่ะ!  ทำไงดีๆ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับเพื่อนๆคนอื่นๆเกือบทุกคนละครับ ที่สำคัญเลย อย่าตื่นเต้นจนรนล่ะครับ ตั้งสตินะครับ ตรงนี้สำคัญมากๆเลย ให้เพื่อนๆหยุดอ่านหนังสือต่อสักพักนึง แล้วดูซิว่า...พรุ่งนี้เราสอบวิชาอะไรบ้าง แล้วหยิบวิชาที่สอบเป็นวิชาแรกมาอ่านทบทวนก่อนเลยครับ แล้วก็ทบทวนวิชาอื่นๆต่อไป (ตรงถ้าคิดว่ากลัวอ่านไม่ทันรอบทบทวนให้เพื่อนๆอ่านในส่วนที่เน้น ที่สำคัญๆเอาไว้ก่อนเลยครับ จำได้ไหมครับว่าในการอ่านรอบแรกผมให้เพื่อนๆจดบันทึกที่สำคัญๆไว้ที่คิดว่าน่าจะออก หรือส่วนที่มันยาก จำไม่ได้ก็นำมาอ่านก่อนเลย ตรงส่วนไหนที่เพื่อนๆจำได้ หรือเข้าใจก็เปิดผ่านๆเลยครับ ตอนนี้เราต้องทำเวลาแหละ)

1ข้อที่ 11.อ่านหนังสือสอบก็ต้องฟิตหน่อยสิครับ เพื่อนๆบางคนอาจจะอ่านหนังสือเร็วและเข้าใจง่ายทำให้การอ่านหนังสือไม่ค่อยมีปัญหาเลยก็ดีไปครับ ส่วนเพื่อนๆคนไหนเป็นคนที่อ่านหนังสือช้าก็ต้องขยันกว่าคนอื่นๆหน่อยแล้ว อาจจะทำให้อ่านหนังสือไม่ทัน ทำให้ต้องนอนดึกหน่อยครับ ก็อย่าลืมดูแลตัวเองนะครับ หานมอุ่นๆหรือของว่างทานสักนิดนึงนะครับ ใส่ใจในสุขภาพหน่อยนะครับ เพราะเดี๋ยวเพื่อนๆอาจป่วยได้นะครับ แล้วไปสอบไม่ได้ แย่เลยน่ะครับ สำคัญเลยครับ ถ้าอ่านหนังสือไม่ทันแล้วจริงๆ แต่ร่างกายเราไม่ไหวแล้ว อย่าฝืนนะครับ ได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น รีบเตรียมตัวเข้านอนกันดีกว่าครับ ตื่นเช้ามาจะได้สดชื่น แถมถ้าเราตื่นเร็ว ก็จะมีเวลาอีกนิดในการทบทวนก่อนเข้าห้องสอบนะ



วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

+ EM

          E.M. ย่อมาจากคำว่า Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพคิดค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรโอะ ฮิงะ (TEROU HIGA) แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เทคนิคทางชีวภาพ รวบรวมเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ หมวดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ช่วยปรับปรุงสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น จุลินทรีย์หมวดสร้างสรรค์ที่มีใน EM ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง แลกโตบาซิลัส  เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูซาเรียม สเตรปโตไมซิส  อโซโตแบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์  รา  ฯลฯ
               จุลินทรีย์ใน EM ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ และมีพลัง “แอนติออกซิเดชั่น” ซึ่งเป็นพลังสร้างสรรค์ของชีวิต ป้องกันมิให้มีการทำลายชีวภาพที่สำคัญของ เซลล์ได้ป้องกันฤทธิ์ของสารพิษได้หลายชนิด รักษาสภาพธรรมชาติของเซลล์ ได้มิให้เสื่อมสภาพรักษาสุขภาพของคนและสัตว์ มิให้เป็นโรคหรือเจ็บป่วยได้ง่าย

ลักษณะโดยทั่วไปของ EM
              เป็นของเหลวสีน้ำตาลกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน (เกิดจากการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ต่าง ในE.M.) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีหรือ ยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่าง ได้ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และแมลงที่เป็นประโยชน์ ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ ที่ทุกคนสามารถนำไปเพาะขยายเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ได้ด้วยตนเอง

ลักษณะการผลิต
                
เพาะขยายจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากกว่า 80 ชนิด จากกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติค
กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน
กลุ่มจุลินทรีย์แอคทีโนมัยซีทส์
กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์
                  
ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ได้จากธรรมชาตินำมาเพาะเลี้ยงและขยายให้จุลินทรีย์ขยายตัวด้วยปริมาณที่สมดุลกันด้วยเทคโนโลยีพิเศษ โดยใช้อาหารจากธรรมชาติ เช่น โปรตีน รำข้าว และสารประกอบอื่น ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
ประโยชน์ของจุลินทรีย์โดยทั่วไป
ด้านการเกษตร
ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ
ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่าง ๆ
ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ดี
ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เพื่อให้เป็นปุ๋ย(อาหารแก่อาหารพืชดูดซึมไปเป็นอาหารได้ดี ไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช พืชให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น
ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ
ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ ไก่และสุกร ได้ภายในเวลา 24 ชม.
ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1 – 2สัปดาห์
ช่วยกำจัดแมลงวัน โดยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน
ช่วยป้องกันอหิวาห์และโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้
ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรงมีความต้านทานโรคสูง ให้ผลผลิตสูงอัตราการตายต่ำ
ด้านการประมง
ช่วยควบคุมคุณภาพในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้
ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำเป็นอันตรายต่อกุ้ง ปลา กบ หรือสัตว์น้ำที่เลี้ยงได้
ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้
ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ และทำให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมปุ๋ยหมักใช้พืชต่างๆ ได้อย่างดี
ด้านสิ่งแวดล้อม
ช่วยปรับสภาพเศษอาหารจากครัวเรือน ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อพืชผักได้
ช่วยปรับสภาพน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน โรงงาน โรงแรมหรือแหล่งน้ำเสีย
ช่วยดับกลิ่นเหม็นจากกองขยะที่หมักหมมมานานได้
การเก็บรักษาจุลินทรีย์
                  
สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน อย่างน้อย 6 เดือน ในอุณหภูมิห้องปกติ ไม่เกิน 46 – 50 องศาเซลเซียสต้องปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้าและอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท การนำE.M. ไปขยายต่อควรใช้ภาชนะที่สะอาดและใช้ให้หมดภายในเวลาที่เหมาะสม
ข้อสังเกต
                    
หากนำไปส่องด้วยกล้องจุลทัศน์ที่มีกำลังขยายสูงไม่ต่ำกว่า 700 เท่า จะเห็น จุลินทรีย์ชนิดต่าง อยู่มากมาย E.M. ปกติจะมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน ถ้าเสียแล้วจะมีกลิ่นเน่าเหมือน กลิ่นจากท่อน้ำทิ้งเก่า (E.M. ที่เสียใช้ผสมน้ำรดกำจัดวัชพืชได้กรณีที่เก็บไว้นาน โดยไม่มีเคลื่อนไหวภาชนะ จะมีฝ้าขาว เหนือผิวน้ำ E.M.นั่นคือการทำงานของ E.M. ที่ผักตัวเมื่อเขย่าแล้วทิ้งไว้ชั่วขณะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปใน E.M.เหมือนเดิม