วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

+ วิธีแสดงความคิดเห็นในเว็บ

+วิธีแสดงความคิดเห็นในเว็บบล๊อก/แต่ละบทความ

1. คลิกที่คำว่า"ความคิดเห็น" เพื่อแสดงกล่องพิมพ์ความคิดเห็น (ปุ่มนี้จะแสดงด้านล่างสุดของบทความ)


2. พิมพ์ความคิดเห็นในช่องความคิดเห็น 

3. เลือกโปรไฟล์


4. เลือกโปรไฟล์ ให้เลือก ชื่อ/URL 


5. จะปรากฎช่องให้พิมพ์ชื่อและURL ให้ พิมพ์ชื่อลงไป ส่วน URL ถ้าไม่มีเว็บส่วนตัวให้ว่างไว้

6. คลิกที่ปุ่ม  "ดำเนินการต่อ"


6. คลิกส่งความคิดเห็น


7. ระบบจะให้พิมพ์การยืนยัน ให้พิมพ์คำที่ท่านเห็นในช่องว่าง

8. เสร็จแล้วกด "ส่งความคิดเห็น" อีกครั้ง   เป็นอันเสร็จจ้าาาา



-------------------

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

+ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

            การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม คือ ลักษณะต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิตจะถ่ายทอดไปทาง ยีน ที่อยู่ใน เซลล์สืบพันธุ์ ยีนแต่ละคู่จะควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิตลักษณะเดียวกัน เช่น ลักษณะใบหน้า
ถูกควบคุมโดย ยีนA โครโมโซมแท่งหนึ่ง และยีน a บนโครโมโซมอีกแท่งหนึ่งลักษณะใบหน้าที่ปรากฏออกมาจึงขึ้นอยู่กับ ว่ายีนที่อยู่บนโครโมโซมทั้งสองเป็นยีนที่ควบคุม หรือกำหนดให้มีลักษณะใบหน้าเป็นแบบใด ( กลม เหลี่ยม หรือรูปไข่ ) ในการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ( เซลล์ไข่และอสุจิ ) โครโมโซมแต่ละคู่จะแยกจากกัน ไปอยู่ในเซลล์ใหม่(เซลล์ที่จะเจริญไปเป็นเซลล์
สืบพันธุ์) ทำให้ยีนที่อยู่บนโครโมโซมแยกกันไปด้วย และ เมื่อเซลล์ไข่ และ อสุจิมารวมกันในการปฏิสนธิ ยีนก็จะมาเข้าคู่กันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งยีนคู่ใหม่ที่ได้นี้ครึ่งหนึ่งจะมาจากพ่อ ( จากเซลล์อสุจิ )ส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะมาจากแม่(จากเซลล์ไข่ ) เซลล์ใหม่ที่ได้ ( เซลล์ลูก ) จึงมียีนของทั้งพ่อและแม่รวมกันและได้รับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อและแม่มาด้วยลักษณะที่ ถ่ายทอดทางพันธุกรรมในมนุษย์และสัตว์ เช่น โครงสร้างอวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนไหว สีขน สีผิว รูปร่าง ฯลฯลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมในพืช เช่น โครงสร้างของลำต้น รูปร่างของผล ดอก ใบ
การเรียงตัวของใบ กลีบดอก และสี

ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่

การค้นพบของเมลเดล


 เมื่อปี พ.ศ. 2408 เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล บาทหลวงชาว ออสเตรีย
ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งพันธุศาสตร์ ได้อธิบาย ลักษณะบาง
ประการของสิ่งมีชีวิต ที่ปรากฏในรุ่นลูก ซึ่งเกิดจากการถ่ายทอดลักษณะ
ดังกล่าวจากพ่อแม่ ผ่านทางเซลสืบพันธ์
     เมนเดลเมนเดลทำการทดลองจนประสบผลสำเร็จในการทดลองและ
ตั้งเป็นกฎเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่มายังลูก
หลานในชั่วต่อๆมาได้เนื่องจากสาเหตุสำคัญคือ เมนเดลรู้จักเลือกชนิด
ของพืชมาทำการทดลอง พืชที่เมนเดลใช้ ในการทดลองคือถั่วลันเตา
(Pisum sativum) ซึ่งมีข้อดีในการศึกษา ด้านพันธุศาสตร์หลายประการ เช่น


- เป็นพืชที่ผสมตัวเอง (self- fertilized) ซึ่งสามารถสร้างพันธุ์แท้ได้ง่าย หรือจะทำการผสมข้ามพันธุ์ (cross-fertilized) เพื่อสร้างลูกผสมก็ทำได้ง่ายโดยวิธีผสมโดยใช้มือช่วย (handpollination)

- เป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ต้องทำนุบำรุงรักษามากนัก ใช้เวลาปลูกตั้งแต่ปลูก จนถึงเก็บเกี่ยวภายในหนึ่งฤดูปลูก (growing season) หรือประมาณ 3 เดือน เท่านั้น และยังให้เมล็ดในปริมาณที่มากด้วย

- เป็นพืชที่ มีลักษณะทางพันธุกรรม ที่แตกต่างกันชัดเจนหลายลักษณะ ซึ่งในการทดลอง
ดัง กล่าว เมนเดลได้นำมาใช้ 7 ลักษณะด้วยกัน


    การกลายพันธุ์

              การกลายพันธุ์ หมายถึง ภาวะที่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถคงลักษณะทางพันธุกรรมไว้ ได้ ซึ่งคำว่าลักษณะทางพันธุกรรมนี้มีความหมายไม่เท่ากัน บางคนอาจมองแค่ลักษณะทางพันธุกรรมที่ปรากฏออกมา (phenotype) บางคนอาจมองลึกไปจนถึงเนื้อหาของจีนที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรมนั้น (genotype) หากมีการเปลี่ยนแปลงในระดับ genotype แล้วก็เรียกว่าเกิดการกลายพันธุ์ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
            1. การกลายที่เซลล์ร่างกาย การกลายที่เซลล์ร่างกาย จะเกิดกับยีนในเซลล์ต่างๆ ของร่างกายเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ไม่ถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน เช่น โรคมะเร็ง เนื้องอก เป็นต้น
            2. การกลายที่เซลล์สืบพันธุ์ การกลายที่เซลล์สืบพันธุ์ เกิดกับยีนในเซลล์สืบพันธุ์ทำให้แอลลีลผิดปกติสามารถ ถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ การกลายนอกจากจะมีสาเหตุมาจากธรรมชาติแล้ว มนุษย์ก็ยังเป็นต้นเหตุ ทำให้เกิดการกลายต่างๆ เช่น การใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช เป็นต้น 

    ---------------------