+ แนวข้อสอบเคมี ม.5


ใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการตอบคำถาม 
-จากปฏิกิริยา F2(g)  + 2ClO2(g) ----------> 2FClO2(g)  
ทำการศึกษาปฏิกิริยานี้ที่ -23 0C ได้ข้อมูลดังนี้
การทดลองที่
ความเข้มข้นของสารเข้าทำปฏิกิริยา
อัตราการเกิด FClO2
(โมลต่อลิตรต่อวินาที)
[F2]
[ClO2]
1
2
3
1.0      x 10-1
1.0      x 10-1
2.0      x10-1
1.0      x 10-2
2.0      x 10-2
1.0    x 10-2
2.4 x 10-3
4.8 x 10-3
4.8      x 10-3

-สำหรับปฏิกิริยานี้ เราสามารถเขียนอัตราการเกิดปฏิกิริยาตามกฎอัตราได้อย่างไร
ก.      Rate = k[F2] [ClO2]2                  ข. Rate = k[F2]2 [ClO2]2
ค.  Rate = k[F2] [ClO2]                    ง. Rate = k [ClO2]2
-ค่าคงที่ k สำหรับปฏิกิริยานี้ที่ -23 0C เท่ากับเท่าใด
                ก. 2.4 l/mol.s                                      ข. 4.8 l/mol.s
                ค. 5.2 l/mol.s                                      ง. 9.6  l/mol.s
-เมื่อความเข้มข้นของ F2 = 1.0 x 10-2 M. และความเข้มข้นของ ClO2 = 2.0 x 10-2 M. อัตราการเกิด     FClO2     ที่    -23 0C เป็นเท่าใด
        ก. 2.4 x 10-3             mol/l.s                   ข. 4.8 x 10-4 mol/l.s
        ค. 4.8 x 10-6             mol/l.s                   ง. 5.2 x 10-7 mol/l.s
-------------------------------------------------------------------------------------------
-  เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นอัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นด้วยเพราะเหตุใด
                ก. จำนวนโมเลกุลที่มีพลังงานสูงกว่าพลังงานกระตุ้นเพิ่มมากขึ้น
                ข. โมเลกุลที่มีพลังงานสูงกว่าพลังงานกระตุ้นชนกันมากขึ้น
                ค. จำนวนโมเลกุลที่มีพลังงานสูงพอเพิ่มมากขึ้นและมีการชนกันมากขึ้น
                ง. โมเลกุลทั้งหมดของสารตั้งต้นมีพลังงานกระตุ้นและชนกันมากขึ้นอย่างถูกวิธีทาง

- ข้อใดไม่เกี่ยวกับตัวเร่งปฏิกิริยา
                ก. ช่วยเปลี่ยนระดับพลังงานของสารตั้งต้น
                ข.ลดพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยา
                ค. หลังเกิดปฏิกิริยาจะได้กลับคืนมาในปริมาณเท่าเดิม
                ง. เร่งปฏิกิริยาให้เร็วขึ้น

-  ข้อใดมีผลทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน
                ก. เพิ่มอุณหภูมิ ลดความดัน
                ข. เพิ่มพื้นที่ผิว ใส่ตัวเร่งปฏิกิริยา
                ค. เพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้น เพิ่มพลังงานก่อกัมมันต์
                ง. เพิ่มพื้นที่ผิว เพิ่มขนาดภาชนะที่บรรจุ